หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสมุห์สุรพงษ์ ปญฺาพโล (สืบนุช)
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๗ ครั้ง
ศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาของร่างทรง กรณีศึกษา: อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ
ชื่อผู้วิจัย : พระสมุห์สุรพงษ์ ปญฺาพโล (สืบนุช) ข้อมูลวันที่ : ๒๘/๐๓/๒๐๑๘
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระเทพสุวรรณเมธี
  สุพิชฌาย์ พรพิชณรงค์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : มีนาคม 2561
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ ๓ ประการคือ (๑) เพื่อศึกษาความเป็นมาเกี่ยวกับเทวดาที่ปรากฏในพระไตรปิฎก (๒) เพื่อศึกษาอิทธิพลของร่างทรงที่มีต่อสังคมไทย (๓) เพื่อศึกษาพิธีกรรมเกี่ยวกับร่างทรง ในอำเภอพระสมุทรเจดีย์ การดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ และวิจัยภาคสนามโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยการสุ่มตัวอย่างที่กลุ่มเป้าหมายจำนวน ๑๐ ท่าน ศึกษาเฉพาะในเขตอำเภอพระสมุทรเจดีย์ ผลการวิจัยพบว่า

เทวดาในพระพุทธศาสนาเป็นสัตว์โลกอย่างหนึ่งสถิตในเทวภูมิ เป็นผู้ทำกุศล เช่น การให้ทาน รักษาศีล หรือเจริญภาวนาเมื่อเป็นมนุษย์และอุบัติในเทวภูมิด้วยกุศลวิบากซึ่งเสวยความสุขประณีตเหนือมนุษย์ เทวดามี ๖ ภพคือ ภูมิเทวดา จาตุมมหาราชิกา ตาวติงสา ยามา ตุสิตา นิมมานรตี ปรนิมมิตสวตี หากหมดวิบากในเทวภูมิก็จุติไปในภพอื่นตามวิบากกรรมของจิต เทวดาสามารถสื่อความกับมนุษย์ได้ ดังปรากฏเรื่องราวของเทวดาจำนวนมากในคัมภีร์พระพุทธศาสนา

สังคมไทยส่วนมากยังเชื่อว่าร่างทรงเป็นผู้มีความรู้และความสามารถพิเศษเหนือกว่าคนทั่วไป คือสามารถรู้เหตุการณ์ในอดีตและอนาคตได้ โดยเฉพาะตอน องค์ลง จะสามารถติดต่อกับเทวดาหรือจิตวิญญาณอื่น ๆ ได้ การเป็นร่างทรงเกิดจาก ๑) การเจ็บป่วย ๒) ฝันว่าเทพกำหนดให้   ๓) สืบทอดจากตระกูล ๔) การฝึกฝนหรือครอบครู สังคมไทยไม่ใช่สังคมเหตุผลและตื่นรู้ทำให้เกิดความเชื่อในร่างทรง ซึ่งช่วยแก้ปัญหาด้านจิตใจ มีทั้งส่วนดีและไม่ดี ขึ้นอยู่กับวิธีการใช้และจุดประสงค์

จากการวิเคราะห์ในพิธีกรรมบวงสรวงของร่างทรงพบหลักพุทธธรรมอยู่ ๓ อย่างคือ หลักความเชื่อความศรัทธา การบำเพ็ญบารมี หลักการบูชา การแนะนำของร่างทรงกับผู้มารับบริการปฏิบัติตามความเชื่อ ในหลักการทำบุญ การรักษาศีลและการปฏิบัติธรรม อิทธิพลความเชื่อด้านศาสนาของร่างทรง จะมีความเชื่อในหลักการทางพุทธธรรมที่นำมาประยุกต์ใช้ในการประกอบพิธีกรรม และการนำมาดำเนินชีวิตของการเป็นร่างทรงซึ่งจะมีความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนา การแนะนำทางศาสนานั้นแบ่งได้ ๓ ข้อใหญ่ได้ดังนี้ คือ ๑) การทำบุญ ๒) การรักษาศีล ๓) การปฏิบัติธรรม ประเภทขององค์ที่ปรากฏมากที่สุด คือ สายษี รองลงมาคือเทพทางศาสนาฮินดู เจ้าพ่อเจ้าแม่และสายเซียนตามลำดับ ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อทางพระพุทธศาสนากับพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาของร่างทรง พบว่า ความเชื่อส่วนใหญ่ของร่างทรงที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา คือ ความเชื่อในการปฏิบัติธรรม การสวดมนต์ และการถือศีล ตามลำดับ

ดาวน์โหลด

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕