หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระไกรสร กิตฺติเวที (วรา)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๓ ครั้ง
ศึกษาพัฒนาการและคุณค่าของการเทศน์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรี ในล้านนา
ชื่อผู้วิจัย : พระไกรสร กิตฺติเวที (วรา) ข้อมูลวันที่ : ๒๐/๑๑/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ไพรินทร์ ณ วันนา
  พระครูปริยัติยานุศาสน์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๘ มีนาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ศึกษาพัฒนาการและคุณค่าของการเทศน์มหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์มัทรีในล้านนา โดยมีวัตถุประสงค์ ๓ ประการ คือ (๑) เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของการเทศน์มหาเวสสันดรชาดกในล้านนา (๒) เพื่อศึกษาสำนวนและทำนองการเทศน์มหาเวสสันดรชาดกในล้านนา (๓) เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาวิเคราะห์พัฒนาการและคุณค่าของการเทศน์มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์มัทรีในล้านนา

ผลจากการวิจัย สรุปได้ว่า การเทศน์มหาชาติ หรือตั้งธรรมหลวงมีขึ้น เป็นวรรณกรรมที่มาในล้านนาไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าเกิดขึ้นเมื่อใด แต่สันนิษฐานได้ ๔ ทางคือ ๑) มาจากนิกายดั้งเดิม ๒) เริ่มตั้งแต่สมัยพระยากือนา ๓) มาจากการสวดของพระในนิกายมหายาน และ ๔) ได้รับอิทธิพลมาจากสุโขทัย พิธีเทศน์มหาชาติในล้านนา มี ๒ แบบ คือ ๑) แบบประเพณีประจำปี ๒) แบบ               สืบชะตาอายุ

ส่วนสำนวนการเทศน์มหาชาติล้านนาแบ่งออกเป็น ๒ สำนวนคือ สำนวนร้อยแก้วและสำนวนร้อยกรอง  

ส่วนทำนองการเทศน์แบบล้านนา มี ๒ วิธีคือ ๑) ทำนองดั้งเดิม แบ่งเป็น ทำนองธรรมวัตร และทำนองมหาชาติ และ ๒) ทำนองประยุกต์

ในด้านพัฒนาการรูปแบบการเทศน์ ในอดีตพระนักเทศน์ให้ความสำคัญกับหลักคุณธรรมจริยธรรมที่แฝงอยู่ในการเทศน์ แต่ปัจจุบันมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลาจึงเน้นเฉพาะสาระและความเพลิดเพลิน บันเทิงใจ สอดแทรกคติธรรมเล็กน้อย พัฒนาการด้านสำนวนการเทศน์ ในล้านนา มีนักปราชญ์แต่งไว้ถึง ๒๘๙ สำนวน ด้านทำนองก็มีหลากหลาย

การเทศน์มหาชาติในล้านนามีคุณค่ามากมาย จากกัณฑ์มัทรี มีคุณค่าต่อผู้ฟัง เพราะการฟังธรรมเป็นเหตุให้เกิดปัญญา ทำให้เข้าใจความเป็นจริงของชีวิต อานิสงส์จากการฟังเทศน์มหาชาติ              มีมากมาย เช่น จะได้ไปเกิดมาในยุคพระศรีอริยเมตไตรย เป็นการเตือนให้ทำความดีและบริจาคทาน สอนให้เห็นถึงความรักภายในครอบครัว แบบอย่างคู่บุญบารมี คุณค่าต่อพระนักเทศน์คล้ายคลึงกับผู้ฟัง และเป็นการฝึกสติและปฏิภาณไหวพริบ พัฒนาจิต และยกระดับจิตใจให้มีความอ่อนโยนยิ่งขึ้นไป คุณค่าต่อสังคมนั้นมีทั้งด้านหลักธรรมจริยธรรม ด้านวรรณศิลป์ และด้านวัฒนธรรมประเพณีล้านนา

 

 Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕