หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » ณัฐศิษย์ เดชาพิพัฒน์กุล
 
เข้าชม : ๑๙๙๙๗ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์แนวทางการสร้างสันติภาพของมหาตมะ คานธี ตามหลักพุทธสันติวิธี (สาขาวิชาสันติศึกษา)
ชื่อผู้วิจัย : ณัฐศิษย์ เดชาพิพัฒน์กุล ข้อมูลวันที่ : ๐๓/๑๒/๒๐๑๙
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระมหาดวงเด่น ฐิตญาโณ
  พูนสุข มาศรังสรรค์
  -
วันสำเร็จการศึกษา : ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๑
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการค้นคว้าศึกษาวิเคราะห์เอกสาร มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิเคราะห์แนวทางการสร้างสันติภาพของมหาตมะ คานธี ตามหลักพุทธสันติวิธี โดยศึกษาหลักพละ ๕ ของพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อให้เห็นแนวทางการสร้างสันติภาพของมหาตมะ คานธี ในการศึกษานี้ผู้วิจัยวางวัตถุประสงค์ของการศึกษาไว้ ๓ ประเด็น คือ ๑. ศึกษาแนวทางการสร้างสันติภาพของมหาตมะ คานธี ๒. ศึกษาแนวทางการสร้างสันติภาพตามหลักพุทธศาสนา และ ๓. วิเคราเะห์แนวทางการสร้างสันติภาพของ มหาตมะ คานธี ตามแนวพุทธสันติวิธี

          ผลการศึกษาวิจัย พบว่า

           ๑. แนวทางการสร้างสันติภาพของมหาตมะ คานธีได้รับอิทธิพลจากการขัดเกลาทางสังคมระหว่างศาสนาต่าง ๆ การใช้วิธีต่อสู้ทางการเมืองแบบ “อหิงสา” เป็นระบบจริยธรรมของอินเดีย คือการไม่ใช้ความรุนแรง (Non-violence) และเน้นพลังแห่งความรัก ความดีงามมาแก้ปัญหาทางการเมือง รวมทั้งผู้ปกครองจะต้องเอื้ออำนวยต่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว ท่านเน้นหลักธรรมสำหรับผู้ที่อยู่ในสังคมทุกคน ในทางการเมือง มหาตมะ คานธี นำวิธีการ "อหิงสา" มาเป็นวิธีการต่อต้านผู้ปกครองที่ไม่เป็นธรรมจนประสบความสำเร็จนำเอกราชมาสู่อินเดียได้ สัตยาเคราะห์คือการไม่ใช้ความรุนแรง (Non-Violence) เป็นทั้งหลักการในการบริหารจัดการและเป็นขบวนการต่อสู้ทางการเมืองแบบเฉพาะของ มหาตมะ คานธีที่เป็นการต่อสู้ระหว่างความดีและความชั่ว สัตยาเคราะห์ขึ้นอยู่กับหลักการ ๒ อย่างคือ ๑) สัจธรรมและศรัทธาในสัจธรรม และ ๒) การดำเนินการอย่างต่อเนื่องและมั่นคง

          ๒. แนวทางการสร้างสันติภาพตามหลักพุทธศาสนา ในหลักธรรมพละ ๕ ประกอบด้วย ๑) ศรัทธาพละ กำลังแห่งความเชื่อควบคุมความสงสัย ๒) วิริยะพละ กำลังแห่งความเพียรควบคุมความเกียจคร้าน ๓) สติพละ ความระลึกได้ กำลังแห่งการควบคุมความประมาท การไม่ใส่ใจ ใจลอย ไร้สติ ๔) สมาธิพละ ความตั้งใจมั่นกำลังแห่งการควบคุมจิตให้ตั้งมั่นและ ๕) ปัญญาพละ ความรอบรู้ กำลังการควบคุมความเพิกเฉยไม่สนใจ หลงงมงาย พละ ๕ จึงเปรียบเสมือนเป็นพลังผลักดันที่ทำให้เกิดความมั่นคงทางจิตใจเกิดศรัทธาในสัมมาทิฐิ เกิดแรงกระตุ้นหนุนส่งความเพียร ประพฤติ ปฏิบัติ บำเพ็ญด้วยความบริสุทธิ์อย่างเต็มที่ ไม่มีกิเลสหรือความทุกข์เข้ามาบั่นทอนหรือบีบคั้น ครอบงำจิตใจ และทำให้ได้สร้างสรรค์หาวิธีสร้างสันติสุข สร้างสรรค์สันติภาพ ได้อย่างเต็มที่เต็มพลังเป็นต้น

          ๓. การวิเคราะห์แนวทางการสร้างสันติภาพของ มหาตมะ คานธี ตามแนวพุทธสันติ พบว่า มหาตมะ คานธีสร้างสันติภาพด้วยหลักการหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง โดยใช้หลักอหิงสาและสัตยาเคราะห์ ที่ต้องอาศัยความรักในเพื่อนมนุษย์ แม้ว่าผู้นั้นจะเป็นศัตรู การใช้ความไม่รุนแรงนี้เป็นการใช้ความศรัทธาความเชื่อ ความวิริยะอุตสาหะ สมาธิ สติ ปัญญา

Download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕