หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » พระสุธีวราลังการ (สมคิด สิริคุตฺโต)
 
เข้าชม : ๒๐๐๐๑ ครั้ง
ศึกษาวิเคราะห์นิพพานสูตรในคัมภีร์ล้านนา (๒๕๕๓)
ชื่อผู้วิจัย : พระสุธีวราลังการ (สมคิด สิริคุตฺโต) ข้อมูลวันที่ : ๒๙/๐๙/๒๐๑๑
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  พระสุธีธรรมานุวัตร, ผศ.ดร.
  อาจารย์รังษี สุทนต์
  ดร. สุรสิทธิ์ ไทยรัตน์
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

 

                        งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์    ข้อ  คือ  (๑) เพื่อศึกษาพัฒนาการและความเป็นมาของต้นฉบับตัวเขียนนิพพานสูตรฉบับล้านนา  (๒)  เพื่อศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ปรากฏในนิพพานสูตรฉบับล้านนา (๓)  เพื่อศึกษาคุณค่าของนิพพานสูตรที่มีต่อสังคมไทย  การศึกษาดังกล่าวเป็นการค้นคว้าวิจัยข้อมูลเชิงเอกสาร  ปรากฏในพระไตรปิฎก ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย   คัมภีร์ใบลาน  และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                        ผลการวิจัยพบว่า  คัมภีร์นิพพานสูตรฉบับล้านนา  เป็นวรรณกรรมที่มีพัฒนาการยุคหลังต่อมาจาก วรรณกรรมรุ่นแรก ๆ ทางพระพุทธศาสนาที่พระเถระชาวล้านนาหลายรูปได้รจนาขึ้น  เช่น มังคลัตถทีปนี  เวสสันตรทีปนี  จักรวาลทีปนี   ที่รจนาโดยพระสิริมังคลาจารย์  ชินกาลมาลีปกรณ์และวชิรสารัตถะสังคหะ  รจนาโดยพระรัตนปัญญาเถระ  สารัตถทีปนี  รจนาโดยพระนันทาจารย์  รวมถึงวรรณกรรมอื่น ๆ  ที่พระเถระชาวล้านนาได้รจนาเป็นลำดับมา  ถือว่าเป็นวรรณกรรมชั้นครู
ที่มีความไพเราะในเบื้องต้น  ท่ามกลาง  และที่สุด  นิพพานสูตรฉบับล้านนา  ก็เช่นกับคัมภีร์ล้านนาอื่น ๆ  ที่สะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการสร้างสรรอย่างต่อเนื่องยาวนานจากรุ่นสู่รุ่น  ด้วยการจาร “จารึก”  อักษรล้านนา “คำเมือง”  ที่เป็นคำสอนทางพระพุทธศาสนา  เช่น พระวินัยปิฎก 
พระสุตตันตปิฎก  พระอภิธรรมปิฎก และคำสอนที่เป็นของท้องถิ่นผ่านกระบวนการสอนประเภทร้อยแก้วบ้าง เช่น โอวาท  คำสอน  สุภาษิต  โวหารล้านนา  ประเภทร้อยกรองบ้าง เช่น  โคลง  ค่าว  ฮ่ำ  จ๊อย  ลำนำซอ  เป็นต้น วรรณกรรมเหล่านี้ล้วนจารึกด้วยอักษรล้านนาทั้งสิ้น 


                        นิพพานสูตรฉบับล้านนา  แสดงให้เห็นภูมิปัญญาของชาวล้านนา  ซึ่งเป็นวัฒนธรรมคนเมืองอย่างเด่นชัดในทัศนะที่มนุษย์พึงมีต่อมนุษย์  สอนให้ชาวบ้านรู้จักประพฤติปฏิบัติตนมั่นคงในหลักคำสอนทางพุทธศาสนาซึ่งปรากฏในวรรณกรรมนี้  คือ  คุณของรัตนะ ๓ อย่าง  โอวาท ๓   ลักษณะ    กุศลกรรมบถ ๑๐  อกุศลกรรมบถ ๑๐  บุญกิริยาวัตถุ   พรหมวิหาร ๔  ไตรสิกขา ๓ หลักธรรมในวรรณกรรมเหล่านี้  ล้วนมุ่งสอนคนให้ปฏิบัติตนเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม  และการดำเนินชีวิตที่สอดคล้องเข้ากับจารีต  วัฒนธรรม  ประเพณีในท้องถิ่นไทยล้านนาเป็นอย่างดี

                คุณธรรมในนิพพานสูตรฉบับล้านนานี้  ได้สอนผ่านกระบวนการสอน  ในหลักการที่สามารถนำไปประพฤติปฏิบัติได้  เชิงโวหาร  และนิทานสาธก  เช่นเรื่องเทวดา,  เรื่องเศรษฐีสอนลูกสาว  เป็นต้น  ในเนื้อเรื่องจะกล่าวถึงการให้คนประพฤติตนอยู่ในศีลธรรม  การควบคุมจิตใจของตนเอง  ตามหลักความสัมพันธ์ระหว่างสังคมมนุษย์  หลักธรรมที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์  ได้แก่  พรหมวิหาร  ที่ทรงคุณค่าต่อสังคมไทย  โดยเฉพาะสังคมไทยล้านนา  ซึ่งมีคุณลักษณะ ๔ อย่าง  คือ  ประกอบด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน  มีรักความเมตตาต่อกัน  ปรารถนาความสุขความเจริญให้เกิดแก่เพื่อนมนุษย์   และช่วยเหลือปลดเปลื้องความทุกข์ที่เกิดให้ลดลงและพ้นจากความทุกข์ยากลำบากนั้น  พลอยยินดีและมีความสุขกับสัตว์และบุคคลที่ได้พ้นจากความทุกข์   สนับสนุนให้เขาได้รับความสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป  มีความรู้สึกที่ดีซึ่งประกอบด้วยปัญญา  วางตัวเป็นกลางกับทุกสิ่งให้เป็นไปตามธรรม  จากอดีตถึงปัจจุบันสังคมไทย  ตั้งแต่สังคมเล็กจนถึงระดับประเทศ   มีความรักความสามัคคีกัน  ดำรงชีวิตอยู่ด้วยความสงบสุขตลอดมา

download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕