หน้าหลัก ค้นหา ติดต่อ สมุดโทรศัพท์ การเรียน/การสอน เหตุการณ์ แผนที่เว็บ Thai/Eng
MCU

หน้าหลัก » นายธวัชชัย สิงห์คำ
 
เข้าชม : ๑๙๙๗๘ ครั้ง
ศึกษาเปรียบเทียบเจตนาในพระพุทธศาสนากับเจตนาในประมวลกฎหมายอาญา ของประเทศไทย (๒๕๕๓)
ชื่อผู้วิจัย : นายธวัชชัย สิงห์คำ ข้อมูลวันที่ : ๒๘/๑๑/๒๐๑๑
ปริญญา : พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
คณะกรรมการควบคุมวิทยานิพนธ์ :
  ผศ.ดร.เทพประวิณ จันทร์แรง
  ผศ.ดร.ภัทรพล ใจเย็น
  -
วันสำเร็จการศึกษา : 2553
 
บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา ๓ ประการคือ ๑. เพื่อศึกษาเจตนาในพระพุทธศาสนา ๒. เพื่อศึกษาเจตนาในประมวลกฎหมายอาญา ๓. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบเจตนาในพระพุทธศาสนากับเจตนาในประมวลกฎหมายอาญา การศึกษาวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลทางเอกสารโดยค้นคว้า รวบรวมข้อมูลทั้งปฐมภูมิและทุติยภูมิ เช่น พระไตรปิฎก ตำรา คำบรรยายกฎหมาย คำพิพากษาศาลฎีกา เป็นต้น แล้วนำมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ ประเด็นต่างๆอาทิ องค์ประกอบที่ครบเจตนาในการกระทำความผิด เกณฑ์ในการตัดสินเจตนาทั้งสองฝ่ายว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไรพร้อมนำเสนอแนวคิดของผู้วิจัยโดยมุ่งตอบวัตถุประสงค์ และปัญหาที่ต้องการทราบ                                                                                                                                             กกกกกกกก      ผลการศึกษาวิจัยพบว่า เจตนาในทางพระพุทธศาสนานั้นจะมีลักษณะประกอบเป็นกรรม มีผลต่อบุคคลที่กระทำนั้นๆ ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้นได้มีการกระทำที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังนี้ คือ ๑. ต้องมีเจตนา (กุศลกรรม หรืออกุศลกรรม) เป็นองค์ประกอบ ๒. มีการลงมือกระทำ ซึ่งปรากฏออกมาได้ ๓ ช่องทางได้แก่ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ จึงจะปรากฏเป็นผลกรรมที่สมบูรณ์ และเมื่อปรากฏผลออกมาแล้วก็จะส่งผลในชาตินี้พร้อมทั้งมีผลกับการเกิดในภพชาติใหม่ต่อไป เจตนาในประมวลกฎหมายอาญาได้วางหลักไว้อย่างชัดเจนในมาตรา ๕๙ โดยผู้วิจัยพบว่าในมาตราดังกล่าวนี้ได้แบ่งเจตนาออกเป็น ๒ ลักษณะได้แก่  ๑. เจตนาประสงค์ต่อผล คือ รู้สำนึก มุ่งหมายจะให้เกิดผลขึ้น ๒. เจตนาเล็งเห็นผล คือ ไม่ได้ประสงค์ต่อผล ไม่ได้มุ่งหมายให้เกิดผลขึ้นแต่เล็งเห็นได้ว่าจะเกิดผลขึ้นอย่างแน่นอน และในมาตรา ๖๐ ยังกำหนดประเภทของเจตนาไว้อีกประเภทหนึ่งได้แก่  เจตนาโดยพลาด คือ ผู้ใดเจตนาจะกระทำต่อบุคคลหนึ่ง แต่ผลของการกระทำนั้นเกิดขึ้นกับบุคคลอีกคนหนึ่งโดยพลาดไป ให้ถือว่าผู้นั้นมีเจตนากระทำต่ออีกคนหนึ่งที่ได้รับผลร้ายจากการกระทำนั้น นอกจากนี้ยังพบว่าการวินิจฉัยความผิดตามประมวลกฎหมายอาญานั้นจะมีองค์ประกอบในการกระทำที่เป็นความผิดโดยแบ่งออกเป็น     ลักษณะ ได้แก่                  ๑. องค์ประกอบภายใน ซึ่งประกอบไปด้วยเจตนา  ๒. องค์ประกอบภายนอกได้แก่ บุคคล มีการกระทำ (มีเจตนา) มีบุคคลหรือวัตถุที่ถูกกระทำ จึงจะปรากฏเป็นผลของการกระทำนั้นๆ และนอกจากนี้ยังต้องพิจารณาด้วยว่าการกระทำนั้นต้องไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด และยกเว้นโทษดังกล่าว จึงจะพิจารณาลงโทษผู้กระทำความผิดนั้นได้อย่างแท้จริง                                           ดดดดดดดด สำหรับประเด็นการเปรียบเทียบ เจตนาในทางพระพุทธศาสนากับเจตนาในประมวลกฎหมายอาญานั้นพบว่า มีทั้งความเหมือนและความแตกต่างกัน สิ่งที่มีความเหมือนกันอย่างเห็นได้ชัดเจนคือ การมีเจตนาเป็นองค์ประกอบในการกระทำความผิด กล่าวคือในการกระทำความผิดของบุคคลในแต่ละครั้งจะต้องมีเจตนาเป็นองค์ประกอบภายในที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับแรกก่อนที่จะพิจารณาในส่วนอื่นๆ ต่อไป สำหรับความตกต่าง พบว่าเจตนาในทางพระพุทธศาสนาจะพิจารณาการกระทำความผิด หรือถือว่าผิด และเป็นการกระทำที่ครบเจตนาแล้วคือจะพิจารณาถึงเจตนาที่ปรากฏออกมา ๓ ทาง คือ ทางกาย ทางวาจา ทางใจ แม้กระทั่งว่าผู้ใดมีเจตนา และได้กระทำกรรมที่ปรากฏทางใจก็ถือว่าเกิดเป็นกรรมแล้ว แต่ในทางประมวลกฎหมายอาญานั้นถึงแม้ว่าจะมีเจตนาแต่การที่จะพิสูจน์ว่าบุคคลใดครบองค์ประกอบในการกระทำความผิดหรือไม่จะพิจารณาได้แค่ทางกาย  และวาจาเท่านั้น  สำหรับทางใจ ถึงแม้บุคคลนั้นจะมีเจตนาแต่ก็ไม่สามารถพิจารณาลงโทษบุคคลนั้นได้เพราะทางประมวลกฎหมายอาญาถือว่าอยู่แค่ในขั้นตอนการคิดเท่านั้นยังไม่ได้ลงมือกระทำความผิดจึงยังไม่สามารถกำหนดโทษ  และลงโทษบุคคลผู้นั้นได้ 

กกกกกกกกสรุปว่าเจตนาไม่ว่าจะในทางพระพุทธศาสนาหรือนทางกฎหมายก็ตาม เป็นเรื่องที่สำคัญเพราะการกระทำต่างๆไม่ว่าจะออกมาในลักษณะ หรือรูปแบบใดประเด็นสำคัญที่สุดที่จะเป็นตัวกำหนดเกณฑ์ในการตัดสินหรือดำเนินการใดๆ จะต้องพิจารณาจากเจตนาเป็นเบื้องต้นทั้งสิ้น ดังนั้นการศึกษาเปรียบเทียบเจตนาในพระพุทธศาสนา และเจตนาในประมวลกฎหมายอาญาจึงเป็นประโยชน์แก่  นักกฎหมาย นักการศึกษา นักการศาสนา ซึ่งจะเข้าใจหลักต่างๆ ในเรื่องเจตนาได้อย่างชัดเจนขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง นักกฎหมายจะเป็นประโยชน์ในการนำไปพิจารณาประกอบการวินิจฉัย ลงโทษ ผู้กระทำผิดด้วยความยุติธรรมอย่างแท้จริง

 

download

 
 
สงวนลิขสิทธ์โดยมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ 
พัฒนาและดูแลโดย : webmaster@mcu.ac.th 
ปรับปรุงครั้งล่าสุดวันพฤหัสบดี ที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๕